ประวัติโรงเรียน
|
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านแจ่มหลวงตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแจ่มหลวงอำเภอกัลยาณิวัฒนาจังหวัดเชียงใหม่โรงเรียนได้ก่อตั้งใน ปีพ.ศ.2517 โดยราษฎรช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวพร้อมบริจาคเงินจ้างครูมาสอนมีนักเรียนรุ่นแรก 40 คนต่อมาในวันที่ 22 พฤษภาคมพ.ศ. 2519 ได้โอนให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่โดยมีนายจอมขวัญดีนายอำเภอแม่แจ่มและ นายบุญทองมุทุมลหัวหน้าหมวดการศึกษาเป็นผู้รับมอบ มี นายเฉลิม อรุณโรจน์เป็นครูใหญ่คนแรกในปีพ.ศ. 2521 นายวิมล สุริยมณฑล รักษาการตำแหน่งครูใหญ่ ปี พ.ศ.2527 นายอัครเดชเรืองกิจคณิตรักษาการตำแหน่งครูใหญ่ ปีพ.ศ. 2529 นายสมศักดิ์ตาไชยดำรงตำแหน่งครูใหญ่ปีพ.ศ.2531 นายวิโรจน์ขันแก้วดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ปีพ.ศ.2535 นายจำรัสไชยมงคลดำรงตำแหน่งครูใหญ่ปีพ.ศ.2536 นายประเวศทิพย์จรดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่พ.ศ.2543 นายอังคารสมคะเณย์ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ปีพ.ศ.2544 มีนายประทีปวิมลพันธ์ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ปีพ.ศ.2545 นายสว่างชัย ศิลป์มิตรภาพรักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ปี พ.ศ.2546 - 2547 นายชัยพันธ์ ศรีนันตาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาในปีพ.ศ.2548 – 2554 นายเกียรติศักดิ์ วงศ์รัตนเสถียร ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ในปี พ.ศ.2554– 2554 นายอินสอน หน่อเรือง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 – 2561 และนายนายฝนเพชร ธงทาสี พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
ลักษณะชุมชน
สภาพที่ตั้ง
โรงเรียนบ้านแจ่มหลวงเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ อำเภอกัลยาณิวัฒนา มีระยะห่างจากตัวอำเภอ 3.5 กิโลเมตรและอยู่ทางทิศเหนือของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 6 มีระยะห่าง 230 กิโลเมตรการเดินทางติดต่อราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 6 ใช้เส้นทางผ่านอำเภอสะเมิงผ่านอำเภอเมืองเชียงใหม่หรืออำเภอหางดงหรืออำเภอแม่วางอำเภอจอมทองซึ่งเป็นระยะทางที่ยาวไกลถึง 221 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมงสภาพถนนเป็นถนนลูกรัง 21 กิโลเมตรอำเภอกัลยาณิวัฒนาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทในช่วงฤดูฝนบางช่วงเดินทางลำบากส่วนฤดูแล้งมีฝุ่นหนาและขรุขระมีภูเขาสูงชันสภาพถนนในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
ลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณที่ตั้งของโรงเรียนและชุมชนเป็นที่ราบระหว่างหุบเขามีที่ราบกว้างใหญ่พอประมาณอยู่ในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์มีป่าสนเขาที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำแม่แจ่มไหลผ่านตลอดปี
มีพื้นที่เพาะปลูกตามที่ราบลุ่มเชิงเขา มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงดังนี้
1. ทิศเหนือ ติดหมู่บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลแจ่มหลวง
2. ทิศใต้ ติดเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
3. ทิศตะวันออก ติดลำน้ำแม่แจ่มและพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
4. ทิศตะวันตก ติดหมู่บ้านนาเกล็ดหอย หมู่ที่ 6 ตำบลแจ่มหลวง
สภาพภูมิอากาศ
ฤดูฝนจะมีฝนตกชุกตลอดฤดูท้องฟ้ามืดครึ้มอากาศเย็นตลอดฤดูหนาวสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี
ฤดูหนาว อากาศจะหนาวเย็นมากอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวระหว่าง 1 – 5 องศา มีหมอกลงจัด
ฤดูร้อน อากาศไม่ร้อนจัดเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสนเขาสลับกับป่าเบญจพรรณซึ่งเป็นป่าในเขตหนาวอุณหภูมิในตอนกลางวันเฉลี่ย 20 – 25 องศาเซลเซียส และในตอนกลางคืนอุณหภูมิเฉลี่ย 15 – 20 องศาเซลเซียส
สภาพเศรษฐกิจ
ประชากรประกอบอาชีพทางการเกษตรทำไร่ทำนาเลี้ยงสัตว์และเก็บของป่าการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ใช้ผลผลิตที่ได้ไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือนเท่านั้นไม่เหลือพอที่จะนำไปจำหน่ายมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาแลกเปลี่ยนผลผลิตซึ่งกันและกันรายได้ของประชากรต่อครอบครัวต่อปีโดยเฉลี่ยประมาณ 5,000 – 15,000 บาท ผู้ปกครองของนักเรียนร้อยละ 95 ยากจนรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัวไม่มีที่ทำกินไม่มีเอกสารสิทธิในการครอบครองที่ดิน
ด้านสาธารณสุข
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแม่ละอุปห่างจากโรงเรียนประมาณ 6 กิโลเมตรแต่ถ้าผู้ป่วยหนักจะต้องเดินทางไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา โรงพยาบาลปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลอำเภอสะเมิงหรือโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพของตนเองการรักษาความสะอาดของร่างกาย และน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพบ่อยๆ
ด้านสังคม
หมู่บ้านในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนเป็นชุมชนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเผ่าสะกอขนาดใหญ่นักเรียนใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทยจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพราะนักเรียนต้องเรียนรู้ ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษากะเหรี่ยง
ด้านวัฒนธรรมประเพณี
ประชากร ในชุมชนมีวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกัน เช่น ประเพณีการแต่งงาน ผูกข้อมือ งานศพ เป็นต้น พอสรุปได้ดังนี้
ภาษา ใช้ภาษากะเหรี่ยงในการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน
ศาสนาประชากรในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนนับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 95
ศาสนาพุทธร้อยละ 4 นับถือผี ร้อยละ 1
การแต่งกายชาวบ้านซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงในเขตบริการของโรงเรียนยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายไว้ โดยเฉพาะสตรีที่แต่งงานแล้วจะสวมใส่ชุดสีดำซึ่งแตกต่างจากสตรีที่ยังไม่แต่งงานจะสวมชุดสีขาวล้วน
ศิลปะการป้องกันตัวชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงชอบการสันโดษไม่ชอบการต่อสู้ แต่ยังมีศิลปะการป้องกันตัวคือการใช้ดาบเป็นอาวุธ และมีการร่ายรำเพื่อความสวยงามซึ่ง เรียกว่า รำดาบ
ด้านการคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตและถนนลูกรัง ในช่วงฤดูฝน การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านบางหมู่บ้าน ยากลำบากเพราะฝนตกถนนลื่น
ระยะทางและการเดินทาง
โรงเรียนบ้านแจ่มหลวงห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 165 กิโลเมตรห่างจาก อำเภอกัลยาณิวัฒนา 3.5 กิโลเมตรและห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ระยะทาง 230 กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง 22 กิโลเมตร และนอกนั้นเป็นถนนลาดยางและคอนกรีตระยะทางติดต่อหมู่บ้านที่เป็นเขตบริการคือ
1. หมู่บ้านนาเกล็ดหอย ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
2. หมู่บ้านกิ่วโป่ง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
3. หมู่บ้านใหม่พัฒนา ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่มาสู่โรงเรียนบ้านแจ่มหลวง สามารถเดินทางได้ 4 เส้นทาง ดังนี้
เส้นทางที่ 1เดินทางจากอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เข้าสู่อำเภอแม่ริม ผ่านอำเภอสะเมิง ผ่านบ้านวัดจันทร์ เข้าสู่โรงเรียนบ้านแจ่มหลวง ระยะทาง 165 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2เดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าสู่อำเภอหางดงผ่านอำเภอสะเมิง ผ่านบ้านวัดจันทร์ เข้าสู่โรงเรียนบ้านแจ่มหลวงระยะทาง 160กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3เดินทางจากอำเภอเมือง เข้าสู่อำเภอแม่แจ่ม ผ่านตำบลแม่นาจร ผ่านตำบลแม่ศึก ผ่านตำบลแจ่มหลวง เข้าสู่โรงเรียนบ้านแจ่มหลวง ระยะทาง 249 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 4 เดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าสู่อำเภอแม่แตง ผ่านด่านแม่ปิง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านบ้านวัดจันทร์ เข้าสู่โรงเรียนบ้านแจ่มหลวงระยะทาง 175กิโลเมตร
ด้านการสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารระหว่างหมู่บ้านกับอำเภอ มีที่ทำการไปรษณีย์เอกชนสาขาปาย โทรศัพท์มือถือ 3 เครือข่าย ais dtacและ true โรงเรียนบ้านแจ่มหลวงมีหนึ่งเลขหมาย
คือ 0882506553 e-mail :
ด้านการสาธารณูปโภค
ระบบน้ำในโรงเรียนใช้น้ำจากน้ำแม่แจ่มบ่อน้ำตื้น และน้ำบาดาลมีไฟฟ้าจากสำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทุกหมู่บ้านในพื้นที่บริการของโรงเรียนและมีโทรศัพท์เคลื่อนที่บริการ 3 เครือข่าย aisdtacและ true
|